เมนู

ผู้แสดงธรรม ชื่อว่าบุพพการี. ผู้ปฏิบัติธรรมชื่อว่า กตัญญูกตเวที.
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า บุพพการีในโลกนี้ พร้อมทั้ง
เทวโลก. พระอริยสาวก ชื่อว่า กตัญญูกตเวที.
ส่วนในคัมภีร์อรรถกถาแห่งทุกนิบาต ท่านกล่าวคำไว้มีประมาณเท่านี้
ว่า (ผู้กระทำอุปการะก่อน ชื่อว่า บุพพการี. ผู้รู้อุปการะที่ผู้อื่นกระทำแล้ว
กระทำตอบในภายหลัง ชื่อว่า กตเวที). บรรดาบุคคลทั้ง 2 พวกนั้น บุพพการี
ชน ย่อมกระทำความสำคัญว่า "เราให้หนี้" บุคคลผู้กระทำตอบแทนในภาย
หลัง ย่อมทำความสำคัญว่า "เราใช้หนี้".
[78] 2.

ทุตตัปปยบุคคล

บุคคลผู้ให้อิ่มได้ยาก 2 จำพวก
เป็นไฉน ?

บุคคลผู้ที่เก็บของที่ตนได้แล้ว ๆ 1. ผู้ที่สละของที่ตนได้แล้ว ๆ
1. บุคคล 2 จำพวกนี้ ให้อิ่มได้ยาก.

อรรถกถาบุคคลผู้ให้อิ่มได้ยาก 2 จำพวก


บทว่า "ทุตฺตปฺปยา" ได้แก่ ผู้ให้ตนอิ่ม คือ ผู้ที่ใคร ๆ ไม่อาจให้
อิ่มได้. ก็ภิกษุใด อาศัยตระกูลอุปัฏฐาก หรือ ตระกูลของญาติอยู่ เมื่อจีวร
ที่ให้เก่าแล้ว ก็เก็บจีวรที่ตระกูลเหล่านั้นถวายเสียไม่ใช้สอย ถือเอาจีวรที่
ตระกูลเหล่านั้นถวายแล้วบ่อย ๆ แล้วก็เก็บเสียนั่นแหละ. อนึ่ง ภิกษุใดสละ
จีวรที่ตนได้แล้ว ๆ โดยนัยนั้นนั่นแหละถวายแก่ภิกษุอื่น แม้ได้จีวรบ่อย ๆ ก็
กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.
บุคคล 2 พวกนี้ใคร ๆ น้อมนำปัจจัยเข้าไปถวายตั้งเล่มเกวียนก็ไม่
อาจเพื่อให้อิ่มได้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ทุตตัปปยา แปลว่า อันใคร ๆ ให้อิ่ม
ได้โดยยาก.

[79] 1. สุตัปปยบุคคล บุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย 2 จำพวก
เป็นไฉน ?

ผู้ที่ไม่เก็บของที่ตนได้แล้ว ๆ 1. ผู้ที่ไม่สละของที่ตนได้แล้ว ๆ 1.
บุคคล 2 จำพวกนี้ ให้อิ่มได้ง่าย.

อรรถกถาบุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย


คำว่า "น วิสชฺเชติ" ได้แก่ กระทำให้เป็นของ ๆ ตน ไม่ให้แก่
ผู้อื่น แต่เมื่อมีอดิเรกลาภ (ของเหลือ) ก็ไม่เก็บไว้ ย่อมถวายแก่ภิกษุอื่นเสีย
ข้อนี้ มีคำอธิบายไว้ดังนี้ คือ.
ก็ภิกษุใดแล มีจีวรเก่าแล้ว ได้ผ้าสาฎกจากตระกูลอุปัฏฐาก หรือ
ตระกูลญาติ กระทำให้เป็นจีวร ใช้ไม่ยอมทิ้ง แม้ปะแล้วก็ยังใช้ห่มอยู่
เมื่อตระกูลเหล่านั้นถวายให้ใหม่ก็ไม่รีบรับโดยเร็ว (หมายถึงมีการพิจารณา)
นี้พวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่ง นั้นคือ ภิกษุใดใช้จีวรที่ได้แล้ว ๆ ด้วยตนเอง ย่อม
ไม่ถวายแก่ภิกษุเหล่าอื่นภิกษุแม้ทั้ง 2 พวกนี้ใคร ๆ ก็อาจให้อิ่มได้โดยง่าย
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สุตตัปปยา แปลว่า อันผู้อื่นให้อิ่มได้โดยง่าย.
[80] อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล 2 จำพวกเหล่า
ไหน ?

ผู้ที่ประพฤติรังเกียจ สิ่งที่ไม่ควรรังเกียจ 1. ผู้ที่ไม่พระพฤติรังเกียจ
สิ่งที่ควรรังเกียจ 1.

อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล 2 จำพวกเหล่านี้.